วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตำหนิเหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรก พ.ศ 2512

 เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อคูณ ออกวัดแจ้งนอก พ.ศ 2512 มีจาร (หน้า-หลัง)

"เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อคูณ" สร้างขึ้นในงานฉลองพระประธานวัดแจ้งนอก จ.นครศรีธรรมราช เมือวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2512 จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ ในปีนั้นหลวงพ่อยังหนุ่ม เรียกกันว่า "พระอาร์จารย์คูณ" แต่ท่านปลุกเสกเหรียญได้ขลังยอดเยี่ยมสร้างชื่อเสียงบารมีมายาวนานจนทุกวันนี้ เหรียญรุ่นแรก มีเนื้อเดียว คือ "เนื้อทองแดง รมดำ" พื้นเหรียญรุ่นนี้มีตำหนิจากในบล็อกแม่พิมพ์เป็นเส้นเสี้ยนที่พื้นด้านหน้าทั้งด้านเหนือศรีษะหลวงพ่อและด้านล่าง แต่ละเส้นต้องมีความคมเรียวเล็กเป็นธรรมชาติ (ถ้าเส้นจางหรือตื้นเป็นของปลอม) นอกจากนี้ต้องพิจารณาข้างหลังเหรียญ "หากมีเม็ดผื่นหรือขี้กลากจะเป็นเหรียญเสริมรุ่นหลัง

 

ตำหนิเหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรก พ.ศ 2512

    เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรก ปี 2512 เป็นเหรียญยอดนิยม มีของเก๊ทำเลียนแบบมากมาย การเช่าหาต้องระวังดูให้ดีครับ ผมได้รวบรวมเอาจุดตำหนิของเหรียญรุ่นนี้จากประสบการณ์องผมเอง และเว็บหลายๆเว็บที่น่าเชื่อถือมาให้ทุกคนศึกษากันครับ...


เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรก ปี 12 (ด้านหน้า)

1.เส้นคู่จะต้องคมชัด
2.เข็มแทงตาขวาของหลวงพ่อคูณ ของแท้จะคมชัด
3.เหรียญแืท้พื้นเหรียญจะต้องเรียบตึง ไม่บวม ไม่เบรอ ไม่เงา
4.อักษรไทยคำว่า ราชสีมา สังเกตุคำว่า "สี " ปลายขีดสระอีทับเส้นไหล่ ปลายหัว "ส" ปรากฎเส้นขนแมวเฉียงเข้าหาเส้นขอบเหรียญ
5.ติ่งจะต้องแหลมคม ลึก
6.อักษรไทยคำว่า ด่านขุนทด ตัว "" มีเส้นเกินเฉียงลงมาด้านหน้า ลักษณะขีดเป็นเส้นนูน มีเส้นขนแมววิ่งตามพื้นเหรียญด้านล่าง ซึ่งเหรียญ " เก๊ " ก็มีแต่ไม่คมชัด



เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรก ปี 12 (ด้านหลัง)

1.ห่วงเหรียญมีความสำัคัญมากเช่นกันครับ..ห่วงเหรียญรุ่นแรก ของแท้มี 2 แบบ แบบมีวงแหวน กับ ไม่มีวงแหวน
2.เหรียญไม่มีเม็ดพด หรือ เรียกว่าไม่มีเม็ดกลาก
3.คำว่าในเมือง ตัว "น" ปรากฎเส้นเกินเกิดจากการแกะพิมพ์พลาด เป็นเส้นเฉียว แนวยาวเข้าหาตารางยันด้านในตรงกลาง
4."ล" คำว่า ฉลอ หางแตกยาว คมชัด...ของเก๊จะเบรอ ไม่คมชัด

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติ พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ)


พระเทพวิทยาคม มีนามเดิมว่า คูณ นามสกุล ฉัตรพลกรัง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ่ เดือน 10 ปีกุน ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ 2466 ณ บ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (โคราช) โยมบิดาชื่อ บุญ โยม   มารดาชื่อ ทองขาว  ประกอบอาชีพทำนา

ในวัยเยาว์ ท่านได้เรียนหนังสือกับ พระอาจารย์เชื่อม วีรโธ  พรอาจารย์ฉาย และ พระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทยและ ภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้งสาม ยังเมตตาอบรมสั่งสอนวิชาคาถาอาคมเพื่อป้องกันอันตราย เป็นการปลูกฝังให้หลวงพ่อคูณฝักใฝ่ในพุทธาคมแต่เยาว์วัย

วันศุกร์ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ 2486 ท่านได้เข้าพรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ อำเภอ ด่านขุนทด โดยมี พระครู วิจารณ์ตีกิจ เจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คง วัดถนนหักใหญ่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า ปริสุทโธ

หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษา ณ วัดถนนหักใหญ่ โดยมี พระอาจารย์คง พุทธสโร เป็นเจ้าอาวาส เริ่มศึกษาพระธรรมวินัย และปฎิบัตสมาธิจากพระอาจารย์คง จนกระทั่งเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ท่านยังไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐานจาก หลวงพ่อแดง วัดหนองโพธิ์ อำเภอพันชนะ และศึกษาพุทธาอาคมจาก นายหลอด ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของท่าน

วิชาฝังตะกรุด ที่ท้องและแขน ท่านได้รับถ่ายทอดมาจาก พระอาจารย์คง พุทธสโร ใครที่ได้รับการฝังตะกรุดจะได้รับบารมีทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดคงกระพัน

เวลาล่วงเลยพอสมควร กระทั่งพระอาจารย์คงเห็นว่าศิษย์มีความชำนาญดีแล้ว จึแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกๆปตามป่าเขา อาศัยป่า อาศัยถ้ำ้เป็นที่ปฎิบัติธรรมแรกๆ ก็ธุดงค์ในเขตนครราชสีมา จากนั้นจาริกออกไปไกลๆตามจังหวัดต่างๆทางภาคอีสาน กระทั่งถึงประเทศเพื่อนบ้านคือ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว และเมืองเสียมราฐ ประเทศเขมร เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง เมื่อใกล้เข้าพรรษา ท่านก็กลับมาที่วัดถนนหักใหญ่เพื่อจำพรรษากับพระอาจารย์คง เพื่อรับการอบรมเพิ่มเติม

หลวงพ่อคูณ ได้คิดว่าในเขตอำเภอด่านขุนทดยังขาดความเจริญเป็นอย่างมาก ท่านจึงได้กลับมายังมาตุภูมิเดิมของท่าน และเริ่มใช้วิชาความรู้ของท่านให้เป็นประโยชน์เพื่อทำการพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญเท่าที่สามารถทำกระทำได้

ในปี พ.ศ 2496 ท่านจึงได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโสถ ชักชวนชาวบ้านและญาติโยมเข้าป่าตัดไม้นำมาก่อสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จลุล่วง นอกจากนี้ท่านยังสร้างโรงเรียน กุฎิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระนำ้เพื่อการอุปโภคบริโภค ยังความสะดวกสบายและความเจริญในบ้านไร่

  ทางด้านพระพุทธศาสนา ท่านได้ประพฤติ ปฎิบัติอย่างเคร่งครัดในพระธรรมวินัยจนเป็นที่เคารพ ศรัทธา ของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป

หลวงพ่อคูณ ได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆไว้มากมาย ให้ความอุปถัมภ์สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาของวัดต่างๆในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่นๆ ถาวรวัตถุที่สามารถให้ประชาชนได้รับประโยชน์ บริจาคทุนเพื่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนต่างๆสมทบทุนสร้างโรงพยาบาล บริจาคปัจจัยให้แก่หน่วยงานราชการมากมาย ทั้งหมดนี้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและประโยชน์ของประชาชนทั่วประเทศ

ด้วยเกียรติคุณและผลงานของท่าน จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชธานพระสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระเทพวิทยาคม